การปลูกผักอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ SM


การปลูกผักอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ SM
ผัก 
พืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมนำมาใช้รับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อนำมาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้  ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวเกษตรกรจึงควรหันมา ทำการปลูกผักอินทรีย์ โดยนำเอาวิธีการทางชีวภาพหลากหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเป็นการทดแทนการใช้สารเคมีเพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
     ผักมีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้นประมาณ 1 เดือน หากเกษตรกรศึกษาเรียนรู้และลงมือปฏิบัติอย่างถูกวิธีและจริงจังแล้วก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ทั้งผักอินทรีย์จะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สามารถจะทำรายได้ให้เกษตรกรอย่างมากมายและมั่นคงอีกด้วย
ประเภทของการปลูกผักอินทรีย์ มี 2 ประเภทดังนี้
1 .การปลูกผักอินทรีย์กลางแจ้ง
ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ปัญหาและอุปสรรคหลักของการทำเกษตรอินทรีย์ก็คือเรื่องโรค
และแมลงศัตรูพืช ซึ่งแก้ไขได้ยากมาก ฉะนั้นการปลูกผักอินทรีย์กลางแจ้งจึงมักจะประสบ
ความสำเร็จยาก
2 .การปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรือน
เป็นเทคโนโลยีการปลูกผักที่เน้นการการแก้ไขปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชเป็นอันดับแรก
อันเป็นแนวทางที่จะทำการปลูกผักอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จได้ แม้จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ชีวิตและสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคก็มีค่ามากกว่าใช่ไหมครับ
   ดังนั้นในที่นี้จะขอแนะนำการปลูกผักอินทรีย์ในโรงเรือนซึ่งสามารถทำได้จริงและประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
การปลูกผักอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ SM

     ปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นประกอบไปด้วย อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ทางการเกษตรกรรมมีการผลิตพืชเพื่อเป็นอาหารและยารักษาโรคที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เราจึงต้องให้ความสำคัญของอาหารมาเป็นอันดับแรก
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ การปลูกผักอินทรีย์เป็นวิถีเกษตรอีกทางหนึ่ง ที่ไม่ได้ใช้สารเคมีในการผลิตโดยเฉพาะการควบคุม และป้องกันศัตรูพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง

บทบาทสำคัญของจุลินทรีย์ในการปลูกผักอินทรีย์ก็คือ
1 .การผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการทำเกษตร
อินทรีย์
2. การใช้จุลินทรีย์ ในการช่วยยับยั้ง ควบคุมการเกิดโรคพืชและการติดไวรัสของพืช ช่วยสร้าง
ภูมิคุ้มกันแก่พืชให้มีความแข็งแรงและเจริญเติบโตตามธรรมชาติ
3 .การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช
4 .การจัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมในการปลูกพืช
-  ทำให้ดินมีโครงสร้างดี มีลักษณะร่วนซุย มีการระบายน้ำและอากาศดี
- ทำให้ดินมีความสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารพืชสูงขึ้น จึงทำให้ประหยัดปุ๋ย
- ช่วยรักษาสภาพความเป็นกรด-ด่าง (ค่า  pH) ของดินไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
- เปลี่ยนรูปธาตุอาหารในดินให้พืชดูดกินได้เร็วขึ้น
จุดประสงค์
- เพื่อผลิตพืชที่ปลอดสารเคมี ปลอดสารพิษตกค้าง
- เพื่อผลิตพืชที่มีประโยชน์ทางโภชนาการ
- เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
- เพื่อการทำเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน
ปัจจัยสำคัญของการปลูกผักอินทรีย์
- ปุ๋ย
- ดิน
- น้ำ
- อากาศ อุณหภูมิและแสงแดด
- โรคและศัตรูพืช
- พันธุ์พืช
อธิบายความ
 1. ปุ๋ย
เราจะให้ความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์มาเป็นอันดับแรก ปัญหาของเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านมาก็คือเรื่องปุ๋ย ธาตุอาหารพืช เพราะในปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารพืชน้อย  ต้องใช้ในปริมาณที่มาก ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน เกษตรกรขาดความรู้เรื่องปุ๋ยอินทรีย์อย่างแท้จริง  ทำให้ในระบบการผลิตพืชผักจะโตช้าและได้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมี
เทคโนโลยีทางชีวภาพการใช้จุลินทรีย์SMสามารถแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี ดังนี้
:  เราสามารถใช้จุลินทรีย์SMในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐาน ได้ในระยะเวลาอันสั้นเพียง 7-10 วัน  คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานที่สำคัญก็คือการย่อยสลายที่สมบูรณ์ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารพืชอยู่ในรูปที่พร้อมใช้ พืชสามารถดูดกินได้ทันที จึงจะทำให้พืชผักโตเร็วและมีคุณภาพดีได้ เพราะได้ธาตุอาหารพืชครบ รวมทั้งฮอร์โมนพืชอีกด้วย
:   เมื่อเกษตรกรสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้ได้เองทั้งปุ๋ยหมักผง และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแล้ว ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต้นทุนที่ต่ำ ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้เป็นอย่างมาก
คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานที่เหมาะกับการปลูกผัก
ปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐาน กรมวิชาการเกษตร
ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยจะต้องผ่านการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์โดยจุลินทรีย์เท่านั้น
คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2551
1.   ปริมาณอินทรียวัตถุ                                             ไม่น้อยกว่า 20 % โดยน้ำหนัก
2.   ค่าความเป็นกรด-ด่าง ( pH)                                  5.5 – 8.5
3.   อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N)                     ไม่เกิน 20 / 1
4.   ค่าการนำไฟฟ้า ( EC : Electrical Conductivity)        ไม่เกิน 10   เดซิซีเมน/เมตร
5.   ปริมาณธาตุอาหารหลัก                                         N ไม่น้อยกว่า  1.0 %  โดย น.น.
                                                                           P ไม่น้อยกว่า  0.5 %  โดย น.น.
K ไม่น้อยกว่า  0.5 %  โดย น.น.
6.   การย่อยสลายสลายที่สมบูรณ์                                 มากกว่า 80 %
7.   ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้                           ไม่เกิน 30 % โดยน.น.
8.   ปริมาณเกลือ                                                      ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์
คำอธิบาย
1. ปริมาณอินทรียวัตถุ  ( Organic Matter )  ค่า OM  ทดสอบว่าปุ๋ยอินทรีย์นั้นผลิตมาจากวัสดุอินทรีย์ล้วนๆหรือมีดินผสมมา
2.  ค่าความเป็นกรด-ด่าง ( pH) อยู่ระหว่าง 5.5 – 8.5 ซึ่งเป็นระดับที่เป็นประโยชน์กับพืชมากที่สุด ซึ่งเมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในดินจะไม่เพิ่มความเป็นกรดให้กับดิน ซึ่งถ้าดินมีความเป็นกรดสูงธาตุ P และ K จะถูกตรึงไว้ พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้จึงขาดธาตุอาหารดังกล่าว
3.  อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) ไม่เกิน 20 / 1 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่บอกคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์นั้นว่ามีการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้ว เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะไม่เป็นอันตรายต่อพืชปุ๋ยนั้นจะไม่ถูกย่อยสลายต่อด้วยจุลินทรีย์ดินอีก เพราะการที่ปุ๋ยย่อยสลายต่อจะทำให้สูญเสียธาตุไนโตรเจนที่มีอยู่ในดินออกไป ทำให้ดินขาดธาตุในโตรเจน
4.  ค่าการนำไฟฟ้า ( EC : Electrical Conductivity) ไม่เกิน 10  เดซิซีเมน/เมตร แสดงถึงความเข้มข้นของปุ๋ยหรือความเค็มของปุ๋ย( ภาษาปุ๋ย ) ซึ่งถ้าความเข้มข้นสูงเกินไปจะทำให้ปุ๋ยเป็นอันตรายต่อพืช เพราะพืชจะไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้
6.  การย่อยสลายสลายที่สมบูรณ์มากกว่า 80 % ซึ่งเป็นการทดสอบคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์  โดยการวัดจากค่า GI -  ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกของการเพาะเมล็ด ซึ่งถ้าค่า GI สูง มีเปอร์เซนต์การงอกของการเพาะเมล็ดสูงก็แสดงว่าปุ๋ยอินทรีย์นั้นผ่านการย่อยสลายที่สมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์แล้ว เมื่อนำปุ๋ยไปใช้จะทำให้พืชกินปุ๋ยได้เร็ว พืชจึงเจริญเติบโตเร็ว
8. ปริมาณเกลือไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ ความเค็มจากเกลือจะทำให้เกิดความเข้มข้นในสารละลายภายนอกรากพืชสูงกว่าภายในรากพืช พืชไม่สามารถดูดซึมน้ำและธาตุอาหารเข้าไปทางรากได้ ( ระบบ Osmosis ) พืชจะเฉาตาย

สรุป

    เมื่อเกษตรกรสามารถเรียนรู้และจัดการเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ได้เป็นอย่างดีแล้ว การทำเกษตรอินทรีย์ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
2 .ดิน
   การจัดการเรื่องดินเราจะเน้นถึงเรื่องปุ๋ยอินทรีย์และอินทรียวัตถุเป็นสำคัญ
คุณสมบัติของดินที่เหมาะสำหรับการปลูกผักมีดังนี้
: ดินที่มีโครงสร้างดี มีลักษณะร่วนซุย มีการระบายน้ำและอากาศดี
: ดินมีความสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารพืชสูง
: ดินมีสภาพความเป็นกรด-ด่าง (ค่า  pH) ของดินอยู่ระหว่าง 5.5 -7
: ดินมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช อีกทั้งอินทรียวัตถุ
: ดินที่สะอาดปราศจากโรคพืชและวัชพืช
การจัดการ
: โครงสร้างของดินที่เหมาะกับการปลูกผัก
ดินที่ประกอบด้วย
: ดินร่วนปนทราย
: อินทรียวัตถุเช่น ขุยมะพร้าว แกลบดำ
: และที่สำคัญปุ๋ยหมักที่ได้มาตรฐาน ปุ๋ยหมักผงและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพปลา
: เมื่อดินเป็นกรดสูงมีค่าpHต่ำ จะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องเชื้อโรคพืชตามมาคือเชื้อราที่ก่อให้เกิด
โรครากเน่า โคนเน่า เราสามารถแก้ไขดินกรดได้โดยการใช้ผงแร่สารบำรุงดิน SM ปรับค่าpH
ของดินให้เป็นกลาง
: การใช้จุลินทรีย์SMปรับปรุงโครงสร้างดิน ทำให้ดินมีชีวิต ช่วยป้องกันและควบคุมการเกิดเชื้อ
โรคพืช
สรุป 
เมื่อเกษตรกรมีความรู้และสามารถจัดการเรื่องดินได้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปแล้วถึง 80 %
3. น้ำ
น้ำก็เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งของการปลูกผัก แหล่งปลูกผักจะต้องมีน้ำอย่างพอเพียง ตลอดเวลา เพราะผักต้องการน้ำตลอดเวลาขาดไม่ได้ ถ้าขาดผักจะเหี่ยวเฉา สะดุดการเจริญเติบโต
คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมกับการปลูกผัก
: เป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากสารเคมีและเชื้อโรค
: ค่าpHอยู่ระหว่าง 5.5 – 7
การจัดการ
1. มีบ่อเก็บน้ำหรือถังพักน้ำเพื่อดูแลรักษาน้ำได้
2. การปรับค่าpHของน้ำในกรณีที่น้ำเป็นกรดโดยใช้ผงแร่สารบำรุงดิน SM ปรับค่าpHให้เป็นกลาง
3. ใช้น้ำรักษาระดับความชื้นและอุณหภูมิของดินที่ปลูกผักให้เหมาะสมตลอดเวลา
สรุป
การมีแหล่งน้ำที่สะอาดและเพียงพอตลอดเวลา จะทำให้เกษตรกรสามารถปลูกผักได้ทั้งปี
4. อากาศ อุณหภูมิและแสงแดด
อุณหภูมิที่เหมาะแก่การปลูกผักไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส
การจัดการ
การปลูกผักในโรงเรือนเราสามารถปรับแสงและอุณหภูมิให้เหมาะสมกับการปลูกผักแต่ละชนิดและช่วงเวลาการปลูกได้
5. โรคและแมลงศัตรูพืช
ปัญหาเรื่องโรคและแมลงมีน้อยมากเพราะได้รับการป้องกันไว้แล้ว หากมีเกิดขึ้นก็เพียง 5 % เท่านั้น
: โรคของพืชผัก ได้แก่ โรคจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่า โคนเน่า
: แมลงศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และหนอนศัตรูผักต่างๆ
การจัดการ
: โรคพืช ใช้จุลินทรีย์ SM ในการควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดินปลูก
: หนอนและแมลงศัตรูพืช ใช้เชื้อจุลินทรีย์ BT ในการกำจัดเมื่อเกิดการระบาด
6 .พันธุ์ผัก
    ปัจจุบันพันธุ์พืชผักมีจำหน่ายอย่างมากมายและสะดวกในการซื้อหา แต่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ใช้เพาะปลูกได้ครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถขยายพันธุ์มาใช้ต่อได้เพราะถูกทำให้เป็นหมัน ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ทุกครั้งที่จะทำการเพาะปลูก
การเลือกเมล็ดพันธุ์พืชผักที่จะปลูกก็ขึ้นกับประเภทการปลูก แหล่งปลูก สภาพสิ่งแวดล้อม และฤดูกาลระหว่างการปลูก เลือกเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสมที่สุด จะได้ประหยัดทั้งต้นทุนและเวลาในการเพาะปลูก
การจัดอันดับความสำคัญของปัจจัยการผลิตผักอินทรีย์ มีดังนี้
1 .ปุ๋ยอินทรีย์
2 .ดิน ดินปลูก วัสดุดินปลูก วัสดุเพาะกล้า
3 .น้ำ
4 .อากาศ อุณหภูมิและแสงแดด
5 .โรคและศัตรูพืช
6 .พันธุ์ผัก
สรุป
หากเกษตรกรศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติในเรื่องการจัดการเรื่องปุ๋ยและดินปลูกผักได้อย่างถูกต้องแล้ว ก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปแล้วกว่า 80 %ครับ


ตัวอย่างการปลูกผักในโรงเรือนของคลีนฟาร์ม จังหวัดสระบุรี 

                                                                                 
                                                                                                   ภาพที่ 1


                                                                                                 ภาพที่ 2


                                                                                               ภาพที่ 3


                                                                                              ภาพที่ 4


                                                                                                ภาพที่ 5

สนใจการปลูกผักในโรงเรือนและรายละเอียดเพิ่มเติม 089-8159559

นางสาววรรณวิลาส  ทิพย์มลสวัสดิ์ 5806401064

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำไม? ต้องผักออแกนิค

"ปลูกอะไรถึงขายดี กำไรเยอะ"

ทำเกษตรบนคันดิน Hugelkultur