อนาคตเกษตรอินทรีย์

3| | |"อนาคตเกษตรอินทรีย์"| | |4>



           คนไทยรู้จักประเทศไทยดีกว่าต่างชาติ และต่างชาติเองก็รู้จักประเทศไทยดีกว่าเราในอีกหลายมุมมอง แต่ในมุมมองของเกษตรกรรมแล้ว ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ภาคการเกษตรมีความสำคัญต่อประชากรเป็นอย่างมาก แต่เดิมนั้นระบบการเกษตร อยู่ในยุคของการทำการเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบอยู่แล้ว หลังจากมีการขยายอิทธิพลและการล่าอาณานิคมของชนชาวต่างชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม การล่าอาณานิคมจึงส่งผลอย่างมากที่ทำให้ประเทศในแถบยุโรปมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากที่เคยมีการทำเกษตรกรรม เปลี่ยนไปสู่การทำอุตสาหกรรมและแผ่ขยายเข้ามามีอิทธิพลในเอเซีย และประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เมื่อความต้องการวัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงานเพิ่มขึ้น ผลกระทบก็เริ่มแผ่ขยาย อุตสาหกรรมจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหลายประเทศ โดยทำการปลูกฝังหยั่งลึกรากฐานในประเทศเกษตรกรรม ให้เปลี่ยนไปเป็นอุตสาหกรรมอย่างสิ้นเชิงตามหัวเมืองต่างๆ ในแถบเอเชีย แปรรูปวัตถุดิบเพื่อที่จะส่งกลับไปยังผู้บริโภคที่นับวันจะมีจำนวนมากขึ้น 

             การแก่งแย่งครอบครองพื้นที่เกษตรกรรมและแปรเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมจึงถือกำเนิดขึ้นในหลายเมือง รวมทั้งในประเทศไทย และถึงแม้ว่าประเทศไทยเองจะไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติใดก็ตาม แต่การรับเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อต้องการความเจริญก้าวหน้าทันโลก ส่งผลให้การทำเกษตรอินทรีย์ ถูกดูดกลืนไปเป็นระบบอื่นไปโดยปริยาย มีการใช้เทคโนโลยีช่วยในเรื่องการผลิต การใช้สารเคมีเพื่อหวังผลในการผลิตเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรที่เป็นตัวตั้งต้นเดิมในอุตสาหกรรมหลักทั้งหลาย โดยเฉพาะด้านอาหาร และเครื่องนุ่งห่ม ทำให้ต้องมีการเร่งผลิตและแข่งขันกันมากขึ้นในเรื่อง จำนวนผลผลิต ที่พึ่งสุดท้ายในระบบการผลิตนี้ จึงต้องใช้ตัวช่วยอย่างปุ๋ยเคมี และสารเคมีก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นไปอีก จนกระทั่ง… กลับสู่ยุค เกษตรอินทรีย์ อีกครั้ง แม้ว่าระบบทั้งหลายจะมีจุดเริ่มต้น การพัฒนา และจุดสิ้นสุดที่ดูเหมือนจะกลับไปสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง อาจมองดูคล้ายกัน แต่การกลับไปยังระบบเดิม จำเป็นต้องมีกระแสเพื่อเป็นตัวช่วยดึงระบบให้สามารถย้อนกลับไปได้ กระแสอาจเป็นทางรอดเดียวของเกษตรกรผู้ทำการเกษตรทางเลือก อย่างเกษตรอินทรีย์ เพราะปัจจุบันนี้ กระแสการดูแลสุขภาพ กำลังมาแรง กระแสของการทำเกษตรอินทรีย์ ก็เริ่มกลับมามีบทบาทมากขึ้นและได้รับความสนใจอีกครั้ง แต่หากจะถามว่า สุขภาพ กับ การทำการเกษตร เกี่ยวกันอย่างไร หลายคนอาจมองไม่ออก… 

             ทุกวันนี้หากเราลองสังเกตดู ไม่ว่าจะมีการผลิตสินค้าอะไรออกมาซักชิ้น มักบอกว่าผลิตโดยระบบ Organic และปลอดสารเคมี เพราะ เกษตรอินทรีย์ นอกจากจะมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในเรื่องดินและน้ำแล้ว ยังไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคอีกด้วย ทำให้เกิดการยอมรับและความเชื่อมั่นได้ว่า ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพมากขึ้น เกษตรอินทรีย์ ดีต่อดินและน้ำ เกษตรอินทรีย์ช่วยในเรื่องของของดินอย่างไร โดยปกติในดินนั้น จะมีสารอาหารมากมายที่พืชต้องการอย่างเพียงพอแล้ว ระบบเกษตรแบบเดิมทำให้ดินมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนไป แต่เกษตรแบบปลอดภัยนี้มาจากการถ่ายเทและสมดุลของวัฏจักร ไส้เดือน เป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญว่าดินจะดีหรือไม่ดี เปรียบเสมือนน้ำที่จะสามารถวัดว่าดีหรือไม่ดีได้ก็โดยการสังเกตุสัตว์ที่อยู่อาศัย เช่นกุ้ง แมลงน้ำบางชนิด เมื่อดินดีมีเศษใบไม้ทับถมเกิดเป็นชั้นดินโดยไม่มีสารเคมี ไส้เดือนจะออกมาอาศัยอยู่ตามหน้าดินและช่วยเกษตรกรพรวนดิน ช่วยให้เกิดช่องว่างในการระบายหรือถ่ายเทอากาศในดินมากขึ้นแต่เมื่อมีการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ไส้เดือนผู้ที่ทำหน้าที่จัดการกับดินจะหายไป การเปรียบเทียบระบบการทำเกษตรแบบต่างๆ ส่วนใหญ่ เป้าหมายคือ ผลผลิต แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเปรียบเทียบว่าระบบไหนดีหรือไม่ดีอย่างไร ควรสอบถามเกษตรกรโดยตรง โดยเน้นไปที่ ต้นทุน มากกว่า ผลผลิตที่ได้ เพราะหากลองเปรียบเทียบดู ระหว่าง การทำเกษตรอินทรีย์ กับระบบเกษตรที่ใช้เคมีเป็นตัวตั้ง เมื่อเทียบกับผลผลิต อาจแตกต่างกันไม่มาก แต่เมื่อเปรียบเทียบในด้าน ต้นทุนการผลิต จะเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน หากทำเกษตรพอเพียง ต้นทุนจะเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุด ที่สำคัญ การเกิดปัญหาอื่นตามมาภายหลังการทำเกษตร ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทั้งโดยตรงกับตัวเกษตรกรเอง และการเจือปนในผลผลิต ในทางอ้อมก็อาจเกิดการกลายพันธุ์ของสัตว์และแมลงบางชนิด แต่ปัญหาที่สำคัญในระบบการผลิตด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ นั่นคือ เวลา การจะปรับเปลี่ยนระบบอย่างหนึ่งไปเป็นอีกระบบหนึ่ง ต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์อย่างมากมายมหาศาล 

Copyright kasetorganic 
By Kanyarat Thongdee




RELATED POSTS

 เกษตรอินทรีย์ มีดีอย่างไร?


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำไม? ต้องผักออแกนิค

"ปลูกอะไรถึงขายดี กำไรเยอะ"

ทำเกษตรบนคันดิน Hugelkultur