การผลิตข้าวอินทรีย์(ออแกนิค)



การผลิตข้าวอินทรีย์(ออแกนิค)


          สำหรับการผลิตข้าวอินทรีย์ที่จะให้ได้การรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ของกรมวิชาการเกษตรนั้น ต้องปฏิบัติดังนี้ คือ ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนจาการทำนาเคมีมาสู่การทำนาอินทรีย์ ต้องหยุดการใช้สารเคมีในพื้นที่นาเป็นเวลานาน 
ปี ที่ดินต้องอยู่ไกลแหล่งมลพิษและ มีแหล่งน้ำที่สะอาด ถ้าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติต้องไม่ผ่านพื้นที่ที่ใช้สารเคมี ถ้าเป็นน้ำชลประทานต้องมีบ่อพัก มีการสร้างแนวกันชนรอบบริเวณนา เพื่อป้องกันสารปนเปื้อน ต้องไม่มีการเผาเศษซากพืชในพื้นที่นา พันธุ์ที่นำมาปลูกต้องไม่เป็นพันธุ์ที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) การฉายรังสี และเมล็ดพันธุ์ข้าวต้องไม่มีการคลุกสารเคมี ควรเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มาจากระบบการผลิตแบบอินทรีย์

          ส่วนการปรับปรุงบำรุงดิน ดินที่เป็นกรดจัดใส่หินปูนบดหรืใส่ปูนไดโลไมท์  ควรปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นปุ๋ยพืชสด ให้ใช้สารอินทรีย์และวัสดุธรรมชาติ ที่ปราศจากการปนเปื้อน ประเภทปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช ถ้าดินขาดโพแทสเซียมให้ใช้มูลค้างคาวและขี้เถ้าถ่าน ถ้าดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้หินฟอสเฟต การเก็บเกี่ยวข้าวต้องแยกผลผลิตจากข้าวที่ผลิตจากระบบเคมีและในโรงเก็บต้องไม่มีการใช้สารเคมีกำจักศัตรูในโรงเก็บโดยเด็ดขาด ถ้าหากเกษตรกรปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ คณะผู้ตรวจรับรองของกรมวิชาการเกษตรจึงจะให้การรับรองการผลิตข้าวอินทรีย์

          ทั้งนี้ได้เป็นผู้ช่วยและผู้ตรวจรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร ที่รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่มีการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์มากที่สุดของประเทศมาตั้งแต่ปี 2547 – 2552  เกษตรกรที่ขอรับรองข้าวอินทรีย์จากศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีมีทั้งแบบเป็นกลุ่ม และรายบุคคล ได้แก่ กลุ่มสหกรณ์พลังสามัคคีสตรีลุ่มน้ำโขง จำกัด  ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2540  มีสมาชิกในเขตอำเภอเขมราฐ นาตาล และกุดข้าวปุ้น  กลุ่มสหกรณ์ไร้สารเคมี จำกัด  มีสมาชิกกระจายอยู่หลายอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี และเกษตรกรรายบุคคล

          จากการออกตรวจประเมินข้าวอินทรีย์ พบว่า สาเหตุที่เกษตรกรหันมาทำนาอินทรีย์ เนื่องจากปัจจัยการผลิตมีราคาแพงขึ้น เกษตรกรมีการรวมกลุ่มการผลิตทำให้มีตลาดรองรับผลผลิตข้าวอินทรีย์  และเกษตรกรบางรายมีความสนใจในการผลิตพืชอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพราะในเขตจังหวัดอุบลราชธานีมีการส่งเสริม และรณรงค์การทำการเกษตรอินทรีย์ของโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ป่าดงนาทาม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุบลราชธานี และชุมชนราชธานีอโศก เมื่อเกษตรกรเข้ารับการอบรมการผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ (โบกาฉิ) การทำน้ำหมักชีวภาพ มีเกษตรกรให้ความสนในได้นำมาปฏิบัติและได้ผลดีทำให้ลดต้นทุนการผลิต เพราะใช้เศษวัสดุจากในฟาร์มของตนเองมาทำปุ๋ยหมัก และซื้อจากนอกฟาร์มเสริมบ้างเล็กน้อย

          “การทำนาอินทรีย์ในปีที่ และ การเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวเกษตรกรส่วนใหญ่จะบอกว่าผลผลิตจะลดลง ต้นข้าวไม่เขียวเข้มเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมี แต่เมื่อประสบสภาวะฝนแล้งข้าวอินทรีย์จะทนแล้ง ทนทานต่อการทำลายของโรคและแมลงได้ดีกว่าการทำนาเคมี แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่ ขึ้นไป ผลผลิตข้าวจะไม่แตกต่างจากนาเคมีมากนัก และข้าวจะมีน้ำหนักดีกว่าข้าวเคมี” นี่คือทัศนคติส่วนหนึ่งของเกษตรกรที่ทำนาอินทรีย์มานานหลายปีแล้ว

          อย่างไรก็ตามมีเกษตรกรบางรายที่ถอดใจไปก่อน เพราะการทำนาอินทรีย์ปัจจัยตัวแรก คือ ใจ เพราะการทำนาอินทรีย์ต้องมีใจที่ขยันและอดทนค่อยเป็นค่อยไป กว่าดินจะกลับมาร่วนซุยต้องใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และการใช้ปุ๋ยพืชสดบำรุงดินอย่างสม่ำเสมอ ในปีแรกๆ ต้องใช้ปริมาณที่มากถึง 3-4 ตัน/ไร่ แต่เมื่อดินเริ่มร่วนซุยก็สามารถที่จะลดปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกลงตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน การทำนาอินทรีย์นอกจากจะช่วยฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศน์ในนา เมื่อเราเดินสำรวจแปลงนาจะพบว่าบนคันนาและที่ดอนจะเต็มไปด้วยขุยไส้เดือนดิน เมื่อเดินลงไปในนา กบ เขียด ปู ปลา หอย จะมีให้เห็นอย่างมากมาย

          สำหรับปู และหอย ก็จะมีสารพัดวิธีในการกำจัดมาเล่าสู่ฟัง เป็นภูมิปัญญาที่ไม่ต้องใช้สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นการนำปุ๋ยมูลไก่ไปใส่ไว้ตามมูมคันนา การนำลูกตาลสุกมาวางไว้ให้ปูมากินแล้วจับไปทำลาย หรือการทำบ่อหลุมสำหรับดักปูให้มาติดกับดักหลุม ปูที่ได้มาสมารถนำมาทำเป็นอาหารพื้นบ้านที่สุดแสนอร่อย ไม่ว่าจะเป็นตำน้ำพริก แกงอ่อม หรือลาบปูแสนโอชะ หรือดองเค็มไว้ใส่ส้มตำที่สามารถทานได้อย่างสบายใจ เพราะมาจากนาตัวเองที่ปลอดภัยจากสารพิษ ส่วนที่เหลือจากการบริโภค ทั้งปู ปลา และหอย ก็นำมาทำปุ๋ยหมักไว้ใช้ในการลิตข้าวและพืชอินทรีย์อื่นๆ อีกด้วย

ข้อมูลจาก : http://kaw-q.blogspot.com/2015/10/blog-post_75.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำไม? ต้องผักออแกนิค

"ปลูกอะไรถึงขายดี กำไรเยอะ"

ทำเกษตรบนคันดิน Hugelkultur