เกษตรอินทรีย์ แนวทางการพัฒนา เกษตรอินทรีย์ของ

แนวทางการพัฒนา เกษตรอินทรีย์ ของไทย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แนวทางการพัฒนา เกษตรอินทรีย์ ของไทย

แนวทางการพัฒนา เกษตรอินทรีย์ของไทย ในการพัฒนาประเทศไทยในหลายสิบปีที่ผ่านมานั้น ได้มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจกระแสหลัก และเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ (GDP) สำหรับทางด้านการเกษตรก็เช่นเดียวกัน โดยรัฐบาลได้มุ่งเน้นประสิทธิภาพการผลิตที่ต้องอาศัยสารเคมี จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นปัญหาด้านสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค การทำการเกษตรอินทรีย์ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว ที่จะก่อให้เกิดความสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่การดำเนินการในขณะนี้ยังมีอุปสรรคและข้อจำกัด และจะนำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไรนั้น ต้องมีการศึกษาในเรื่อง เกษตรอินทรีย์ นี้อย่างจริงจัง โดยสำงานนักคณะกรรมการวิขัยแห่งชาติ (วช.) จึงได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของไทยให้แก่ รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ และคณะ ศูนย์พัฒนาเกษตรอินทรีย์ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ 

          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ดำเนินการโครงการวิจัย เพื่อศึกษาข้อมูลของภาพรวมและโครงสร้างของเกษตรอินทรีย์ สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการผักเกษตรอินทรีย์ และวิเคราะห์อุปสรรคและบทเรียนในการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารในประเทศไทย 
              ทั้งนี้โดยได้ดำเนินการวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการแบ่งกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผักเกษตรอินทรีย์ที่เป็นเป้าหมายในการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 
              -  กลุ่มดำเนินการที่แบ่งย่อยออกเป็นผู้ผลิต/ผู้ค้าปัจจัยการผลิต ผู้ผลิตผักเกษตรอินทรีย์ และผู้ประกอบการผักเกษตรอินทรีย์ 
              - กลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มสนับสนุนภาครัฐและเอกชน 

          โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผักเกษตรอินทรีย์ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง ส่วนวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมมนาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคการระดมสมองแบบเจาะกลุ่ม
(Focus group)เพื่อหาคำตอบในประเด็นที่กำหนดไว้และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก( In-dcpth intervicw) ร่วมกับการสืบค้นข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย จากนั้นนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการสัมมนาขั้นสุดท้ายเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผักเกษตรอินทรีย์ให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ ปัจจัยความสำเร็จ ของการทำเกษตรอินทรีย์ การจัดการปัจจัยการผลิตให้มีเพียงพอ เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และสามารถเข้าถึงได้ การจัดการระบบการผลิตที่ดีและเหมาะสม และความรู้ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจผักเกษตรอินทรีย์ของผู้ผลิต ศักยภาพในการผลิตผักเกษตรอินทรีย์ และทัศนคติที่ดีต่อผักเกษตรอินทรีย์ของผู้ผลิตและประกอบการ การตลาดผักเกษตรอินทรีย์ที่เอื้อให้ผู้บริโภคเข้าใจผักเกษตรอินทรีย์และขยายความต้องการของผู้บริโภค การจัดการโลจิสติกส์ที่สนับสนุนผักเกษตรอินทรีย์ พฤติกรรมผู้บริโภคผักเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค กลุ่มและเครือข่ายผักเกษตรอินทรีย์ที่ครอบคลุมและเข้มแข็ง การสื่อสารและประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงพฤติกรรมที่ดีผักเกษตรอินทรีย์ของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มาตรฐานและระบบการรับรองผักเกษตรอินทรีย์และชัดเจนเหมาะสม ฐานข้อมูลผักเกษตรอินทรีย์ที่น่าเชื่อถือ และสามารถเข้าถึงได้ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน การวิจัยที่สนับสนุนการดำเนินงานผักเกษตรอินทรีย์ การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ศักยภาพและทัศนคติที่ดีต่อเกษตรอินทรีย์ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่อเกษตรอินทรีย์ นโยบายและกฎหมายที่สนับสนุนผักเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับแนวสู่ความสำเร็จนั้นจะต้องเป็นแนวทางที่ทุกกลุ่มจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังและมีความต่อเนื่อง กลุ่มดำเนินการที่ประกอบด้วยผู้ผลิต ด้านปัจจัยการผลิต ผู้ผลิตผักเกษตรอินทรีย์และผู้ประกอบการผักเกษตรอินทรีย์ ต้องมีการรวบรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันเพื่อให้เกิดห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง กลุ่มผู้บริโภคจะต้องได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อย่างถูกต้องทั้งจากภาครัฐและเอกชน ส่วนกลุ่มสนับสนุนภาครัฐและเอกชนควรสร้างหรือปรับปรุงเครื่องมือต่างๆ เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ ระบบฐานข้อมูล การวิจัย ฯลฯ ให้ไปส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญในการการพัฒนา เกษตรอินทรีย์ ปรับปรุงกฎระเบียบ กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สารธรรมชาติ และการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ พัฒนาความรู้และศักยภาพของเกษตรกรโดยยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางและภูมปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาความรู้และศักยภาพจากพื้นฐานแต่ละกลุ่ม จัดตั้งศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเกษตรอินทรีย์และส่งเสริมการร่วมทุนระหว่างภาคเอกชนกับกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพในการผลิตและวิจัยเมล็ดพันธุ์ผักเกษตรอินทรีย์ จัดให้มีระบบที่สร้างหลักประกันแก่ผู้ผลิตผักเกษตรอินทรีย์ จัดให้มีระบบการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ในลักษณะการศึกษาเชิงบันเทิง จัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการบริหารจัดการเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และฐานข้อมูลที่ครอบคลุมและทันสมัย ส่งเสริมการนำผักเกษตรอินทรีย์ไปบริโภคในกิจกรรมของหน่วยงานภาครับและเอกชน รวมถึงการจัดให้มีร้านค้าผักเกษตรอินทรีย์ในหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่มา kasetorganic.com
เรียบเรียงใหม่ โดย Anonglak intawong

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำไม? ต้องผักออแกนิค

"ปลูกอะไรถึงขายดี กำไรเยอะ"

ทำเกษตรบนคันดิน Hugelkultur