อาหารออร์แกนิก เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า






อาหารออร์แกนิก เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า

เทรนด์คนรักสุขภาพ กำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก โดยมุ่งไปที่เรื่องของการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในส่วนของการรับประทานอาหารนั้น ปัจจุบันมีแนวทางในการเลือกรับประทานอาหารให้เราเลือกหลากหลายแนวทาง อย่างที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีสำหรับคนไทย จะเป็นเรื่องของอาหารประเภทชีวจิต อาหารแมคโครไบโอติกส์ นอกจากนี้ ยังมีอาหารออร์แกนิกที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ 
อาหารออร์แกนิกคืออะไร
เพื่อที่จะสามารถเลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า อาหารออร์แกนิก คืออะไร และมีคุณสมบัติอย่างไร
U.S. Department of Agriculture ตรารับรองอาหารและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของสหรัฐอเมริกา กำหนดว่า คำว่า “Organic” ซึ่งใช้ได้เฉพาะกับสินค้าเกษตร สัตว์น้ำที่จับจากแหล่งธรรมชาติ และที่มาจากการเพาะเลี้ยง และอาหารสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งที่เป็นวัตถุดิบและที่ผ่านกระบวนการแล้ว ทั้งนี้ รวมถึงผลิตภัณฑ์เกษตรที่นำมาใช้ในลักษณะที่เป็นเครื่องปรุง (Ingredient) ที่ได้รับการผลิตและการจัดการเป็นไปตามกฎระเบียบ USDA ที่กำหนดไว้ว่าแล้วเท่านั้น ซึ่งประกอบไปด้วย
  
1.ส่วนประกอบทุกอย่างมาจากธรรมชาติ 
อาหารแบบออร์แกนิกจะไม่ใช้สารสังเคราะห์ใดๆ เลยในขบวนการปลูกหรือเพาะเลี้ยง นั่นหมายถึงทั้งพืชผักและเนื้อสัตว์เลี้ยง ที่อาศัยการเลี้ยงดูให้เติบโตสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารจากธรรมชาติ พืชผักที่ปลูกต้องปลอดสารเคมี โดยใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการปลูกเท่านั้น ในส่วนสัตว์ก็จะเป็นการเลี้ยงดูอย่างอิสระไม่มีการให้สารเร่ง เช่น เร่งเนื้อ เร่งไข่ ไม่มีการขุนหรือให้อาหารสังเคราะห์ใดๆ เพื่อให้สัตว์เหล่านั้นโตเร็ว อย่างเช่น ในวงการอุตสาหกรรมทำกัน จึงจะสามารถเรียกได้ว่าผลผลิตเหล่านี้เป็นการสร้างอาหารแบบธรรมชาติ 100% ไม่มีสารพิษเจือปน

2.ขบวนการผลิตไม่ใช้สารเคมี 
หากในอาหารมีส่วนประกอบจากการใช้สารเคมีร่วมด้วยนั่น ก็ไม่ถือว่าเป็นออร์แกนิก ซึ่งการไม่ใช้สารเคมีในที่นี้หมายถึง ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี สารกระตุ้นหรือสารเร่งการเจริญเติบโต โดยตามหลักมาตรฐานขององค์กรออร์แกนิกจะระบุรูปแบบอาหารออร์แกนิกไว้ 3 ระดับ คือ 100% Organic (ธรรมชาติ 100%) Organic (ธรรมชาติ 95% ขึ้นไป ใช้สารสังเคราะห์เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น) และ Made with Organic Ingredient (ธรรมชาติ 70% ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านี้ไม่ถือว่าเป็น Organic) ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์ถูกนำออกมาจำหน่ายนั้น ต้องมีป้ายบ่งบอกเปอร์เซ็นต์ลักษณะนี้ ซึ่งในต่างประเทศอย่างอเมริกา แคนาดา ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารออร์แกนิกค่อนข้างสูง โดยจะเป็น Organic 100% ซึ่งเทียบกับประเทศไทยแล้ว เรายังไม่ค่อยเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากนัก แต่ก็เริ่มมีผู้บริโภคในกลุ่มคนรักสุขภาพหันมารับประทาน Organic Food มากขึ้น เพราะพิษภัยของสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อม ทำให้ร่างกายกลายเป็นแหล่งสะสมสารพิษ และส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้น Organic Food จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคที่ห่วงใยในสุขภาพของตัวเอง
3.กระบวนการผลิตไม่ก่อให้เกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม 
อาหารออร์แกรนิก นอกจากจะมุ่งให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีจากผลผลิตนั้นแล้ว ยังจะมีจุดประสงค์อีกประการหนึ่ง นั่นก็คือ ความพยายามในการลดมลพิษให้กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างที่ทราบกันดีว่า การใช้สารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี จะส่งผลให้มีสารพิษตกค้างอยู่ในดิน น้ำและอากาศ ดังนั้น วิธีการปลูกแบบธรรมชาติแบบนี้ จึงเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม พูดง่ายๆ คือ ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

อาหารออร์แกนิก ต่างจากอาหารทั่วไปอย่างไร จากผลงานวิจัยของ สมิธ-สแปงเกลอร์ และทีมวิจัยระบุว่า สารอาหารใน Organic Food ไม่ได้แตกต่างจากอาหารทั่วไป ยกเว้นเสียแต่ว่ามี ฟอสฟอรัส ซึ่งผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกมีปริมาณมากกว่าเพียงเล็กน้อย ส่วนสารอาหารในกลุ่มโปรตีนและไขมันในนม พบว่า ไม่ว่าจะนมออร์แกนิกหรือนมทั่วไปนั้น ก็มีปริมาณสารอาหารประเภทโปรตีนและไขมันไม่ต่างกัน เพียงแต่ว่าในอาหารทั่วไปนั้น จะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ซึ่งอาจมีสารเคมีตกค้างในพืช ส่วน Organic Food ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และสารเคมีกำจัดวัชพืช ทำให้ไม่มีสารเคมีตกค้างในพืช ซึ่งสารตกค้างเหล่านี้เอง ที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและยังเป็นที่มาของโรคมะเร็ง ภูมิแพ้ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ที่ผ่านมามีผลงานวิจัยที่ระบุว่า หากคุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานอาหาร อาหารออร์แกนิกตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคทั้งหลาย เช่น หอบหืด ออทิสติก ภูมิต้านทานบกพร่อง โรคมะเร็ง ที่จะเกิดขึ้นกับลูกน้อยลง และยังช่วยทำให้คุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรงอีกด้วย
นอกจากนี้ผลการทดลองโดย Environmental Working Group (EWG) องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่แสวงหาผลกำไรของสหรัฐฯ พบว่า การทานผักผลไม้ที่มีสารเคมีปนเปื้อนในแต่ละวัน จะทำให้ร่งากายมีโอกาสได้รับสารเคมีถึง 15 ชนิด ประมาณ 38% ของยาฆ่าแมลงที่เราใช้กันอยู่ทั่วโลกเป็นสารเคมีกลุ่มออกาโนฟอสเฟตที่รบกวนการทำงานของระบบประสาทและสมองของแมลง ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบประสาทและสมองของคนและสัตว์เช่นกัน นอกจากนี้ มักมีสารไดอะซีนอนไดซัลโฟตอน อะซินฟอสเมทธิล และโฟโนฟอสอีกด้วย โดยเป็นสารเคมีกลุ่มออกาโนฟอสเฟตที่รบกวนการทำงานของระบบประสาทและสมองของแมลง ซึ่งแน่นอนว่าเป็นอันตรายต่อระบบประสาทและสมองของคนและสัตว์เช่นกัน
(Some images used under license from Shutterstock.com.)

นางสาวอังคณา  ไทยยันโต 5806401066


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำไม? ต้องผักออแกนิค

"ปลูกอะไรถึงขายดี กำไรเยอะ"

ทำเกษตรบนคันดิน Hugelkultur