แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์สิ่งทออินทรีย์ (Organic textiles)




แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์สิ่งทออินทรีย์ (Organic textiles)

สิ่งทออินทรีย์เป็นสิ่งทอที่ใช้วัตถุดิบเส้นใยและสีย้อมจากธรรมชาติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเส้นใยส่วนใหญ่ที่ใช้เพื่อการผลิตสิ่งทออินทรีย์นั้นมักนำมาจากฝ้าย ไผ่ ไหม กัญชง ขนสัตว์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในกระบวนการขอรับรองมาตรฐานสิ่งทออินทรีย์นั้นยังจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตเส้นใย การฟอกย้อม การจัดการของเสียที่เกิดขึ้น การเก็บรักษา การบรรจุ การขนส่ง และกระบวนการตรวจสอบสารตกค้างในผลิตภัณฑ์สุดท้าย ตลอดจนสิ่งประดับที่ติดอยู่กับสิ่งทอทั้งหมดด้วย
  Source สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์สิ่งทออินทรีย์
อาจกล่าวได้ว่าสิ่งทออินทรีย์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคและมีแนวโน้มความต้องการทางการตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะหลายปีที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ Organic Exchange ที่ได้ระบุว่ามูลค่าการตลาดของผลิตภัณฑ์สิ่งทออินทรีย์ในปี พ.ศ. 2552 มีมูลค่าสูงถึง 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีบริษัทเอกชนจำนวน 1,500 บริษัท จาก 55 ประเทศทั่วโลก ที่ขอรับรองมาตรฐานสิ่งทอ และเส้นใยอินทรีย์ อนึ่ง จำนวนบริษัทที่ขอรับรองมาตรฐานนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 40
            ข้อมูลดังกล่าวยังมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เมื่อกระแสความต้องการสิ่งทออินทรีย์เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยงานนิทรรศการระดับโลกจำนวนมากล้วนให้ความสนใจในการนำเสนอผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้แก่คู่ค้าและผู้บริโภค อาทิ งาน
BioFachซึ่งเป็นงานนิทรรศการแสดงสินค้าอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ประเทศเยอรมนี ที่ได้
มีการแยกส่วนนิทรรศการด้านสิ่งทออินทรีย์ออกมาเฉพาะ อีกทั้งยังมีการจัดแฟชั่นโชว์ที่ผลิตจากสิ่งทออินทรีย์เพื่อให้สอดรับกับกระแสความต้องการของผู้บริโภค หรือแม้แต่งาน Texworldซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าสิ่งทอจากทั่วทุกมุมโลกก็ได้จำนวนของผู้เข้าร่วมที่นำเสนอสินค้าเกี่ยวกับสิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นต้น


มาตรฐานผลิตภัณฑ์สิ่งทออินทรีย์

ปัจจุบัน มาตรฐาน Global Organic Textile Standard หรือ GOTS ที่ดำเนินการโดย IWG
(international working group) นับเป็นมาตรฐานสิ่งทออินทรีย์ที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวางในระดับสากล ทั้งนี้ มาตรฐานดังกล่าวถือเป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ของพืชหรือการจัดการขนสัตว์ทั้งหมด จนกระทั่งไปถึงร้านค้าปลีกที่จำหน่ายสิ่งทออินทรีย์

อนึ่ง เงื่อนไขสำคัญในการขอรับรองมาตรฐานดังกล่าว คือ ผลิตภัณฑ์จะต้องไม่มีส่วนผสมของกระบวนการดัดแปลงทางพันธุกรรมไม่ว่าจะเป็นใน ขั้นตอนใดของกระบวนการผลิต การห้ามใช้สารโลหะหนักอันตรายบางตัวและสารฟอร์มาลดีไฮด์ในกระบวนการฟอกย้อม ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้เส้นใยซึ่งผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หรืออยู่ระหว่าง ระยะปรับเปลี่ยนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ของปริมาณเส้นใยทั้งหมด สามารถติดฉลาก
organicหรือ  organic - in conversionบนผลิตภัณฑ์ได้ ในขณะที่หากมีการใช้เส้นใยซึ่งผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หรืออยู่ระหว่างระยะ ปรับเปลี่ยนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณเส้นใยทั้งหมด จะสามารถติดฉลากว่า made with x% organic materialsหรือ made with x% organic - in conversion materialsบนผลิตภัณฑ์ได้

สำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มี การพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มสิ่งทอแต่อย่างใด ดังนั้น บริษัทผู้สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้จึงต้องอาศัยการรับรองโดยมาตรฐานต่าง ประเทศ เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี พ.ศ. 2554 สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) จะเริ่มพิจารณาการร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสิ่งทออินทรีย์

กรณีศึกษาด้านสิ่งทออินทรีย์ในอินเดีย
การ ผลิตสิ่งทออินทรีย์ในประเทศอินเดียเริ่มเป็นที่น่าจับตามองเมื่อนักออกแบบ ชื่อดัง Anita Dongre
s ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเมื่อปี พ.ศ. 2550 ซึ่งถึงแม้ว่ามูลค่าตลาดจะมีน้อยกว่าร้อยละ 1 ของมูลค่าตลาดสิ่งทอในอินเดียทั้งหมด แต่นักธุรกิจในอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามูลค่าตลาดของ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะขยับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5 ในอีก 5 ปีข้างหน้านี้
จาก กระแสความต้องการสิ่งทออินทรีย์ที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทรายใหญ่หลายรายในอินเดีย เริ่มที่จะมีการเพิ่มกระบวนการผลิตเสื้อผ้าอินทรีย์มากขึ้น ดังเช่นบริษัทผู้ผลิตยีนส์ Levi
s ที่ได้เตรียมเปิดโรงงานผลิตกางเกงยีนส์สำหรับสุภาพบุรุษและสตรีที่เป็น แบรนด์ Levis-Eco ในประเทศอินเดีย ซึ่งมุ่งผลิตสินค้าจากฝ้ายอินทรีย์ กระดุมจะทำจากกะลามะพร้าว ไม่มีการใช้วัสดุที่ทำจากโลหะเป็นเครื่องประดับกางเกงยีนส์  สีย้อมก็จะทำมาจากส่วนผสมจากธรรมชาติ และป้ายแสดงตราสินค้าก็จะทำจากกระดาษรีไซเคิล นอกจากนี้ สินค้า Van Heusen แบรนด์ชื่อดังจาก Madura Garments และ Arrow จาก Arvind Brands ก็ยังได้นำเสนอเสื้อผ้าอินทรีย์เมื่อเดือนเมษายน 2553 ที่ผ่านมาเช่นกัน
ธุรกิจนวัตกรรมสิ่งทออินทรีย์และโอกาสของประเทศไทย

เพื่อ ให้สอดคล้องกับศักยภาพของตลาดโลกและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบอินทรีย์ จากประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ สนช. จึงได้ริเริ่มส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มสิ่งทอมากขึ้น โดยได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมเด็กจากฝ้ายอินทรีย์ในปี พ.ศ. 2551 และ 2553 นี้ สนช. ได้สนับสนุนโครงการสิ่งทอจากเส้นใยกัญชงอินทรีย์ โดยมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตผ้าทอเส้นใยกัญชงอินทรีย์แบบยกดอก สำเร็จรูป ด้วยการออกแบบและพัฒนาเครื่องทอผ้าแบบมือสำหรับเส้นใยกัญชงอินทรีย์ให้เกิด ลวดลายแบบยกดอกสำเร็จรูปขึ้นในผ้าทอ และเหมาะสมสำหรับการทอผ้าเส้นใยกัญชง ด้วยการสร้างกี่ทอมือ 20 ตะกอ โดยใช้ 2 ขาเหยียบ ที่ใช้ระบบดอบบี้ในการควบคุมตะกอ
นอกจากนี้ สนช. ยังมุ่งหวังให้เกิดนวัตกรรมในการสรรหาวัสดุธรรมชาติชนิดใหม่มาทำเป็นเส้นใย อินทรีย์ เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมและความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับการเพาะปลูก พืชที่เหมาะมาทำเป็นเส้นใย รวมทั้งยังส่งเสริมนวัตกรรมด้านกระบวนการฟอกย้อมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการผลิตเสื้อผ้าอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยคาดว่าในปี พ.ศ. 2554 จะร่วมรังสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมในธุรกิจสิ่งทออินทรีย์เพิ่มมากขึ้นต่อไป

แนวทาง ดังกล่าวนับเป็นการดำเนินการร่วมระหว่างแผนงาน ของ สนช. โดยนำการดำเนินการในโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ มาผนวกกับหลักการด้านวัสดุชีวภาพและการออกแบบเชิงเศรษฐนิเวศของแผนงาน ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังให้เกิดนวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและคำนึงถึงสิ่ง แวดล้อมอีกด้วย
คุณาวุฒิ บุญญานพคุณ
ผู้จัดการฝ่ายอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ที่มา http://www.greenshopcafe.com/greennews1441.html
นางสาวอังคณา ไทยยันโต  5806401066

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำไม? ต้องผักออแกนิค

"ปลูกอะไรถึงขายดี กำไรเยอะ"

ทำเกษตรบนคันดิน Hugelkultur